งานสืบสานตำนานไทยลื้อ
จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวยงาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อการสาธิตพิธีกรรม ต่างๆเวลากว่า 200 ปี ที่ชาวไทลื้อเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ระยะเวลาที่ยาวนานอีกทั้งวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ประเพณีไหว้สาพระเจ้าตนหลวง
จัดทุก ๆ ปี เดือนพฤษภาคม เดือน 8 ของภาคเหนือ มีประเพณีแปดเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชา แต่สำเนียงล้านนาออกว่า “แปดเป็ง” อักษร พ เป็น ป จังหวัดพะเยา ได้กำหนดจัดงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ( พระเจ้าตนหลวง)
เวียนเทียนกลางน้ำกว๊านพะเยา
หนึ่งเดียวในโลกวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา"ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน ฤดูกาลที่ดีที่สุด: วันเพ็ญเดือน 3 เดือน 6 และเดือน 8จุดชมวิวที่ดีที่สุด: วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยาจัดกิจกรรมเวียนเทียนกลางน้ำ หนึ่งเดียวในโลกที่กว๊านพะเยา 1ปี มีเพียง3ครั้ง เฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และ วันอาสาฬหบูชา สำหรับกิจกรรมนั้นจะลงเรือไปกราบสักการะหลวงพ่อศิลาพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 500ปี ประดิษฐานอยู่ ณ วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา
พร้อมนั่งเรือเวียนเทียน 3 รอบ
ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)
เป็นประเพณี “ลอยกระทง”ที่ยึดถือเป็นธรรมเนียนปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ช้านาน จะตรงกับวันเพ็ญ เดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน)หัวใจหลักของประเพณีการลอยกระทง โดยเฉพาะในแถบล้านนา จะยึดถือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ หรือ “วันยี่เป็ง”เป็นวันสำคัญในวันนี้จะเป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคาและพระแม่คงคา
งานสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง
ชาวพะเยาพร้อมใจร่วมพิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง รำลึกถึงเจ้าผู้ครองเมือง ผู้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ 1 ใน 3 อาณาจักรใหญ่ชนเผ่าไทยมาจนถึงปัจจุบันเป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหง มหาราช และพ่อขุนเม็งรายมหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการแสดงวัฒนธรรมล้านนา ประวัติกล่าวไว้ว่า พ่อขุนงำเมืองเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว หรือเมืองพะเยาในปัจจุบัน พ่อขุนงำเมืองเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพ เล่ากันว่าเสด็จไปทางไหน “แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำ”จะทำให้แดดออกก็ได้ จะให้ฝนตกก็ได้ พ่อขุนงำเมืองปกครองเมืองภูกามยาวจนเจริญเป็นอาณาจักรใหญ่ 1 ใน 3 อาณาจักรของชนเผ่าไทยแถบนี้ นั่นคือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรพะเยา
แหล่งที่มา:http://goo.gl/EijxBl
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น