วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติผู้เขียน


ชื่อ-นามสกุล: นายอนุพงษ์  พรมพุฒิ
ปัจจุบันศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  คณะวิทยาการจัดการ 
โปรแกรม บริหารธุรกิจ(การจัดการ)
รหัสนักศึกษา: 581705295
สีที่ชอบ: สีเขียว
อาหารที่ชอบทาน: หมูผัดพริกแกง
สถานที่ชอบ : ตลาดดอยเวา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
เวลาว่าง: อ่านหนังสือ  ดูทีวี  เล่นเกมส์
Facebook: Anupong  Promput ( https://www.facebook.com/man.anu.568 )

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี


งานสืบสานตำนานไทยลื้อ
       จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวยงาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อการสาธิตพิธีกรรม ต่างๆเวลากว่า 200 ปี ที่ชาวไทลื้อเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ระยะเวลาที่ยาวนานอีกทั้งวัฒนธรรมที่หลากหลาย




ประเพณีไหว้สาพระเจ้าตนหลวง 
         จัดทุก ๆ ปี เดือนพฤษภาคม เดือน 8 ของภาคเหนือ มีประเพณีแปดเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชา แต่สำเนียงล้านนาออกว่า แปดเป็ง” อักษร พ เป็น ป จังหวัดพะเยา ได้กำหนดจัดงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ( พระเจ้าตนหลวง)




เวียนเทียนกลางน้ำกว๊านพะเยา 
        หนึ่งเดียวในโลกวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา"ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน  ฤดูกาลที่ดีที่สุด: วันเพ็ญเดือน 3 เดือน 6 และเดือน 8จุดชมวิวที่ดีที่สุด: วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยาจัดกิจกรรมเวียนเทียนกลางน้ำ หนึ่งเดียวในโลกที่กว๊านพะเยา 1ปี มีเพียง3ครั้ง เฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และ วันอาสาฬหบูชา สำหรับกิจกรรมนั้นจะลงเรือไปกราบสักการะหลวงพ่อศิลาพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 500ปี ประดิษฐานอยู่ ณ วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา
พร้อมนั่งเรือเวียนเทียน 3 รอบ




ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)  
      เป็นประเพณี ลอยกระทงที่ยึดถือเป็นธรรมเนียนปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ช้านาน จะตรงกับวันเพ็ญ เดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน)หัวใจหลักของประเพณีการลอยกระทง โดยเฉพาะในแถบล้านนา จะยึดถือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ หรือ วันยี่เป็งเป็นวันสำคัญในวันนี้จะเป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคาและพระแม่คงคา




งานสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง  
        ชาวพะเยาพร้อมใจร่วมพิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง รำลึกถึงเจ้าผู้ครองเมือง ผู้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ 1 ใน 3 อาณาจักรใหญ่ชนเผ่าไทยมาจนถึงปัจจุบันเป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหง มหาราช และพ่อขุนเม็งรายมหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการแสดงวัฒนธรรมล้านนา ประวัติกล่าวไว้ว่า พ่อขุนงำเมืองเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว หรือเมืองพะเยาในปัจจุบัน พ่อขุนงำเมืองเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพ เล่ากันว่าเสด็จไปทางไหน แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำจะทำให้แดดออกก็ได้ จะให้ฝนตกก็ได้ พ่อขุนงำเมืองปกครองเมืองภูกามยาวจนเจริญเป็นอาณาจักรใหญ่ 1 ใน 3 อาณาจักรของชนเผ่าไทยแถบนี้ นั่นคือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรพะเยา






แหล่งที่มา:http://goo.gl/EijxBl

อาหารพื้นเมือง

ส้าจิ๊น


ส้าจิ๊น


น้ำพริกอ่อง

ยำฮก

คั่วถั่วเน่า

คั่วถั่วเน่า

ยำจิ้น

ยำจิ้น

แกงผักหม
แกงผักหม

แกงเห็ด อาหารพื้นเมือง

แกงเห็ด

ไข่ป่าม
ไข่ป่าม
DSCF7734

ปู๋อ่อง
ยำหน่อไม้

ยำหน่อไม้





แหล่งที่มา:http://goo.gl/2XchTT

แหล่งท่องเที่ยว



แหล่งท่องเที่ยว


อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง
อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง

อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801-1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมากประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยาเป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงรายและพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามพระองค์ได้กระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีประมงน้ำจืดพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน "แดดก็บ่อฮ้อน ฝนก็บ่อฮำจักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด" จึงได้พระนามว่างำเมือง

กว๊านพะเยา
เกิดจาการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้วเป็นแอ่งน้ำซึ่งเป็นที่รวบรวมของลำห้วยต่างๆ 18 สาย ต่อมาในปี 2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้น บริเวณ ต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร คำว่า "บึง" ภาษาพื้นเมือง เรียกว่า "กว๊าน"
 กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา คือเป็นทั้งแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน รวมทั้งปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อน งดงามมาก บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหารและจัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะที่จะไปนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊านเป็นภาพที่สวยงามมาก



ตั้งอยู่ตรงถนนพหลโยธินระหว่างหลักกม.ที่ 734-735 เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด ปลาที่เพาะพันธุ์เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ฯลฯ และสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึกได้สำเร็จเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ห้องจัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงามที่หาดูยากไว้หลายชนิด เปิดให้ชมในวันเวลาราชการ และยังมีเรือนประทับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อครั้งเสด็จมาทรงงานที่จังหวัดพะเยาอยู่ในบริเวณเดียวกัน บริเวณรอบตำหนักจะมีดอกไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์ สระน้ำพุอันสวยงาม ตั้งอยู่บริเวณสถานีประมงพะเยา


อยู่ใกล้กับวัดศรีโคมคำ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยาโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ เปิดให้เข้าชมใน
วันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.



วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ถนนพหลโยธิน ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร ด้านทิศใต้ -  ทิศตะวันตก  ติดกับกว๊านพะเยา   ทิศเหนือ – ตะวันออก ติดกับถนนพหลโยธิน เริ่มก่อสร้างองค์พระประธาน (พระเจ้าตนหลวง) เมื่อ  พ.ศ. ๒๐๓๔ มาสำเร็จบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ.  ๒๐๖๗ ประมาณ ๓๓ ปี จัดเป็นวัดโดยสมบูรณ์ การก่อสร้างในสมัยนั้น พระเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาผู้ทรงอุปถัมภ์

    ในกาลต่อมาหัวเมืองต่าง ๆ ของล้านนาไทยหลายหัวเมืองถูกข้าศึกพม่าเข้ารุกราน  ทำให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินแก่ข้าศึก  แม้ทรัพย์สินของพระ ศาสนาก็ต้องทอดทิ้งปล่อยให้ปรักหักพัง  บ้านเมืองรกร้างว่างเปล่าอยู่ประมาณ ๕๖ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๘๗ ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพุทธวงศ์   เมืองลำปาง  เป็นพระยาประเทศอุดรทิศ  ขึ้นมาครองเมืองพะเยา ทรงตั้งนายมหายศ เป็นพระยาอุปราช  ครั้นพระยาประเทศอุดรทิศถึงแก่อนิจกรรมไปทรง  โปรดเกล้าฯ  นายมหายศขึ้นครองเมืองพะเยาแทน ทรงตั้งเจ้าบุรีรัตน์ขั้นเป็นพระยาอุปราชแทน  ท่านทั้งสองได้เริ่มบูรณะองค์พระประธาน และบูรณะวัด  ศรีโคมคำขึ้นใหม่  เริ่มก่อสร้างพระวิหารและเสนาสนะขึ้นมีสภาพเป็นวัดสมบูรณ์  ต่อจากนั้นเจ้าผู้ครองเมืองพะเยาอีกพะเยาอีกหลายองค์ เช่น เจ้าหลวง อินทะชมพู เจ้าหลวงขัตติยะ เจ้าหลวงชัยวงศ์  จนถึงองค์สุดท้าย คือ พระยาประเทศอุดรทิศ (มหาชัย ศีติสาร) ครองเมืองพะเยา ทุกองค์ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีโคมคำ

    พระวิหารหลังเก่าสร้างมานานชำรุดทรุดโทรม พระยาประเทศอุดรทิศทรงรื้อแล้วก่อสร้างใหม่ โดยนายพัฒน์เป็นช่างก่อสร้างก่อสร้างเป็นเวลานานไม่เสร็จนายช่างพัฒน์มาถึงแก่กรรมไป จึงทอดทิ้งไว้  ครั้นต่อมาการปกครองบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงจากเจ้าผู้ครองเมืองมาเป็นระบบการปกครองเป็นมณฑล เรียกมณฑลพายัพ  กระจายอำนาจการบริหารออกเป็นจังหวัด อำเภอ  ตำบลหมู่บ้าน ตำแหน่งเจ้าผู้ครองก็เลิกร้างไป พระยาประเทศอุดรทิศกราบบังคมลาออกจากตำแหน่งทางการ จึงตั้งนายคลาย  บุษยบรรณ มาเป็นนายอำเภอเมืองพะเยา ในสมัยนั้นพระยาประเทศอุดรทิศแม้พ้นจากตำแหน่งแล้วก็ยังให้การอุปถัมภ์วัดศรีโคมคำเช่นเดิม มิได้ทรงทอดทิ้ง

    ขณะนั้นได้ทราบกิตติศัพท์ว่า ครูบาพระศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยเกิดขึ้น ท่านสังกัดอยู่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนท่านมีบารมีธรรมสูง  ทำการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์โบราณวัตถุสถาน  ในเขตท้องที่จังหวัดลำพูน -  เชียงใหม่  มีประชาชนเลื่อมใสมาก ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดทั่วไปในแถบ ล้านนาไทย  จึงได้ประชุมปรึกษากัน ทางฝ่ายคณะสงฆ์มีพระครูศรีวิราชวชิรปัญญาเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองมีพระยาประเทศอุดรทิศ อดีตเจ้าผู้ครองเมือง และนายคลาย  บุษยบรรณ  นายอำเภอเมืองพะเยา พร้อมด้วยพ่อค้า คหบดีประชาชนต่างก็มีความเห็นชอบพร้อมเพรียงกัน จังไปอาราธราครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธานก่อสร้างพระวิหารวัดศรีโคมคำ โดยใช้ให้พระปัญญา วัดบ้านปิน  และจ่าสิบตำรวจเอกอ้าย  พูนชัยไป อาราธนานิมนต์ท่านมาสร้างพระวิหาร ท่านสอบถามถึงประวัติความเป็นมาของพระเจ้าตนหลวงว่าเป็นมาอย่างไร เมื่อได้รับทราบตำนานว่าเป็นโบราณ    วัตถุอันเก่าแก่มีกลักฐานแน่นอน ท่านจึงรับว่าจะมานร้าง แต่มีเงื่อนไขว่า ให้คณะสงฆ์และประชาชนชาวพะเยาเตรียมวัสดุไว้ให้พร้อม อาทิ  อิฐ ปูน ทราย  หิน  เหล็ก  ไว้ให้พร้อม

    พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา จึงได้ประชุมปรึกษาคณะสงฆ์  เจ้าคณะหมวด เจ้าอาวาส  ภิกษุสามเณรทุกวัดวาอาราม  เข้ามาตั้งปางกระท่อม ปั้นอิฐก็ได้ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐  ก้อน  ทราย  หิน  โดยขอความร่วมมือผู้มีกำลังต่างก็หามาไว้จนครบถ้วนแล้วไปอาราธนาท่านอีกครั้งหนึ่ง     เมื่อวัสดุอุปกรณ์ครบถ้วยแล้ว   ท่านรับนิมนต์ทันทีแล้วเตรียมเอาพระภิกษุผู้ชำนาญการกรอสร้างมาเป็น บริวาร  ออกเดินทางมาจากจังหวัดลำพูนตาม ลำดับเส้นทางจนถึงเมืองพะเยา เมื่อวันที่ ๒๕  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕  ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ

    วันที ๒๘  ธันวาคมพ.ศ. ๒๔๖๕  ขึ้น ๑๑ ค่ำ  เริ่มลงมือรื้อพระวิหารหลังเก่าจนเสร็จเรียบร้อย

    วันเสาร์ที่ ๖ มกราคมพ.ศ. ๒๔๖๖ ตรงกับวัน ๗ ฯ ๒ ค่ำ ปี จอ จุลศักราช๑๒๔๘  วางศิลาฤกษ์ ลงเสาพระวิหารใหญ่ต่อจากนั้นก็เทเสราพระวิหารต้นอื่น  ต่อไป ขุดรากฝาผนัง ก่อฝาผนัง และก่อกำแพงล้อมรอบ สร้างศาลาบาตร (ศาลาราย)  รอบกำแพงวัดสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธบาทจำลอง    สร้างพร้อมกันทั้งหมดทุก ๆ หลังในคราวเดียวกัน  และก่อสร้างภายในปีเดียวเหมือนเนรมิต คิดค่าก่อสร้างเป็นจำนวน ๑๑๓,๐๐๐  รูปี  (รูปีหนึ่งคิดราคา  ๗๕ สตางค์)

    ครั้นวันที่ -  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๖๗  ทำบุญฉลองพระวิหารพร้อมกับศาสนาวัตถุอื่น ๆ ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำบุญฉลองพระวิหารนานประมาณ ๑ เดือน  จึงแล้วเสร็จ หลังจากทำบุญฉลองแล้วครูบาพระศรีวิชัยก็กลับไปจังหวัดเชียงใหม่เริ่มสร้างวิหารวัดสวนดอก  จังหวัดเชียงใหม่  จึงได้มอบหมายให้พระครูบาแก้ว  คนฺธวํโส เป็นผู้รับภาระธุรการดูแลรักษาโบราณวัตถุและพระวิหารแทน

    วัดศรีโคมคำ ได้สร้างมานานประมาณ พ.ศ. ๒๐๓๔  ตั้งแต่เริ่มสร้างพระเจ้าตนหลวงมาแล้ว เจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฏในตำนานคือพระธรรมปาล  ท่านผู้นี้ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่แก่ประชาชนที่หนีภัยสงครามแล้วกลับเข้ามาสู่เมืองพะเยา ภายหลังได้    ทราบเรื่องราวตำนานนี้แล้วก็เกิดศรัทธาปสาทะยิ่งใหญ่ อยู่ต่อมาอีกประมาณ ๔๐๔  ปี จุลศักราช ๑๒๑๙  พ.ศ. ๒๔๐๐  พระกัปปินะเป็นเจ้าอาวาสอักครั้งหนึ่ง มีบันทึกในหนังสือสมุดข่อย บันทึกไว้ว่า แสนทักขิณะ เขียน ดวงชาตาพระเจ้าตนหลวง  มีพระธรรมปาละ เขียนไว้ให้ท่านได้รับทราบ  แสดงว่าวัดศรี  โคมคำเป็นวัดมาแต่โบราณกาล  แต่มาในยุคหลังบ้านเมืองตกอยูู่ในช่วงสงคราม จึงโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง  วัดวาอารามรกร้างว่างเปล่าไป  ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมือง วัดวาอารามก็ถูกบูรณะก่อสร้างขึ้นโดยลำดับ

    วัดศรีโคมคำ เริ่มก่อสร้างขึ้นหลังสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕  พระครูศรีวิราชปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมือง  อดีตเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา  พระยาประเทศอุดรทิศ  และอดีตนายอำเภอเมือพะเยา  คือ หลวงสิทธิประสาสน์ (นายคลาย  บุษยบรรณ)  นายอำเภอเมืองพะเยาคนแรก ได้ร่วมใจกันอาราธนานิมนต์พระครูบาศรีวิชัย  จังหวัดลำพูน มาเป็นประธานนั่งหนักในการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ท่านก็มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ลำดับเจ้าอาวาสมีดังนี้

    พ.ศ. ๒๔๖๕ -  ๒๔๖๗  พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยาเป็นเจ้าอาวาส

    พ.ศ. ๒๔๘๘  -  ๒๕๐๖  ครูบาปัญญา   ปญฺโญ  เป็นเจ้าอาวาส

    พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๐๙  ครูบาแก้ว  คนฺธวํโส  เป็นเจ้าอาวาส

    พ.ศ. ๒๕๐๙  พระโสภณธรรมมุนี เจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา  ( พระธรรมวิมลโมลี)เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ และได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส  เมื่อวันที่ ๒๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช ๒๕๑๑  จนถึงปัจจุบัน



ศาลหลักเมืองพะเยา มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ตั้งอยู่ริมถนนท่ากว๊าน อยู่ใกล้กันกับวัดศรีอุโมงค์คำ และอีกด้านเป็นวัดราชคฤห์ จากถนนประตูชัยเลี้ยวซ้ายไปจรดถนนท่ากว๊าน สามารถเห็นศาลหลักเมืองได้อย่างชัดเจน ศาลหลักเมืองพะเยามีความสวยงามทั้งกลางคืนและกลางวัน



จุดชมวิวกว๊านพะเยา มีความสูงประมาณ 25 เมตร บนยอดเขาฝั่งต้าแห่งนี้ยังเป็นจุดชมวิวและยังสามารถพักผ่อนได้ สามารถชมวิวได้ถึง 360 องศา โดยได้เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคม 2556 ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้สัญจรไปมา



วัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติวัดที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร กล่าวว่า วัดศรีอุโมงค์คำสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๖ เมตร อาคารเสนาสนะของวัดศรีอุโมงค์คำ ประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ คือ เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นเจดีย์สมัยเชียงแสนซึ่งสภาพยังสมบูรณ์อยู่ และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งขาวพะเยาเรียกกันว่า “ พระเจ้าล้านตื้อ ” ซึ่งชี่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ “ หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ ” แม้หลักฐานการสร้างจะไม่ปรากฏชัดเจนแต่ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง ๕๐๐ ปีมาแล้ว พระเจ้าล้านตื้อของวัดศรีอุโมงค์คำ มีประวัติเล่าว่าแต่เดิมถูกทิ้งให้ปรักหักพังที่สนามเวียงแก้ว ต่อมาเจ้าเมืองพะเยาได้บูรณะแล้วนำมาประดิษฐานที่วัดนี้ บ้างก็กล่าวว่าแต่เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีจอมเรือง สำหรับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดว่างดงามมากและมีเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดยเฉพาะ นอกเหนือจากพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น วัดศรีอุโมงค์ยังมีพระพุทธรูปต่างๆ ดังนี้ คือ พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย (หลวงพ่อทันใจ) ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายศตวรรษที่ ๒๑ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๖๐ เซนติเมตร สูง ๒๑๕ เซนติเมตร พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย (พระแข้งคม) มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีนาดหน้าตุกกว้าง ๑๓๐ เซนติเมตร สูง ๑๙๐ เซนติเมตร เป็นต้น อนึ่ง ในหนังสือ เมืองพะเยา ได้กล่าวถึงวิหารหลังเก่าของวัดศรีอุโมงค์คำว่า ในปีจุลศักราช ๑๒๓๗ สัปตศก พุทธศักราช ๒๔๑๘ เจ้าหลวงอริยะซึ่งลงไปรับสัญญาบัตรกลับมาครองเมืองพะเยาได้ก่อสร้างวิหารของวัดนี้ขึ้น แต่ภายหลังถูกรื้อออกไป สันนิษฐานว่าอาจเป็นวิหารหลังที่เหลือร่องรอยเพียงฐานของวิหารและได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ก็เป็นได้ สิ่งสำคัญของวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน คือฐานวิหารเก่า ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างนี้แน่ชัด ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ปัจจุบัน วัดศรีอุโมงค์คำมีความสำคัญในฐานะที่เปิดสอนการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนราษฎร์ของวัด ห้องสมุดประจำวัด และเปิดศูนย์ฝึกอาชีพให้ประชาชนโดยทั่วไป




แหล่งที่มา:http://place.thai-tour.com/phayao/mueangphayao
แหล่งที่มาวีดีโอ:https://goo.gl/fz7Mas

ข้อมูลทั่วไป



สภาพทั่วไป
ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 735 กม.
ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขา ที่ราบสูง มีระดับความสูงตั้งแต่ 300 – 1,550 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่่เป็นที่ราบ
ลักษณะภู

มิอากาศเนื่องจากมีป่าไม้และภูเขาล้อมรอบจึงทำให้อากาศหนาวมากในฤดูหนาวและอากาศไม่ร้อน
จัดในฤดูร้อน มีเทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาผีปันน้ำ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำอิง แม่น้ำยม และแม่น้ำลาว



ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่าง
เส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้



ทิศเหนือ ติดเขต อ. พาน อ. ป่าแดด อ. เทิง จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดเขต อ. งาว จ. ลำปาง และ อ. สอง จ. แพร่
ทิศตะวันออก ติดเขต แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ อ. ท่าวังผา อ. บ้านหลวง อ. สองแคว จ. น่าน
ทิศตะวันตก ติดเขต อ. งาว อ. วังเหนือ จ. ลำปาง


ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่นสบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออก
เฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือ
และมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่
ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง(บางส่วน) อ.เชียงคำ และ อ.แม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำหนิดของแม่น้ำยม
เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยภูลังกา ดอยสันปันน้ำ ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่แฝก ดอยขุนแม่ต๋ำ ดอยขุนแม่ต๋อม

ลักษณะภูมิอากาศ
แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือน พฤษภาคม อุณหภูมิวัดได้ 39.5 องศา ซ.
2. ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฝนตกหนาแน่นในเดือนพฤษภาคม ฝนตกตลอดปีประมาณ 1,043.9 มม. มีวันฝนตก 101 วัน
3. ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนพฤศจิกายน และ มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 10.8 องศา ซ.ในเดือนธันวาคม



การปกครอง 









ประกอบด้วย 9 อำเภอ คือ อ.เมืองพะเยา, อ.เชียงคำ, อ.เชียงม่วน, อ.ปง, อ.ดอกคำใต,้ อ.จุน, อ.แม่ใจ, อ.ภูซาง และ อ..ภูกามยาว แบ่งเป็น 68 ตำบล
805 หมู่บ้าน

การปกครองท้องถิ่น
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
- เทศบาลเมือง 1 แห่ง
- เทศบาลตำบล 11 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล 59 แห่ง


ประชากร
จำนวนประชากร เดือนมิถุนายน ปี 2549 มีทั้งสิ้น 486,348 คน เป็นชาย 239,731 คน เป็นหญิง 246,617 คน จำนวนครัวเรือน 163,761 ครัวเรือน
มีบนพื้นที่สูงอาศัยอยู่กระจัดกระจายตามบริเวณเทือกเขาสูง ได้แก่ เผ่าลื้อ เผ่าเย้า เผ่าแม้ว เผ่าลีซอ และเผ่าถิ่น จำนวน 45 หมู่บ้าน 2,658 ครัวเรือน
โดยกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ เช่น อ.เมืองพะเยา อ.ปง อ.เชียงคำ อ.เชียงม่วน อ.แม่ใจ อ.ภูซาง และอ.ดอกคำใต้




การเกษตร

ในปี 2548 จังหวัดพะเยามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งสิ้น ประมาณ 410,825 ไร่ ีผลผลิตประมาณ 431,643 ตัน
พื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ ประมาณ 358,069 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 277,905 ตัน
พื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ 55,809 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 37,808 ตัน
มีเนื้อที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ประมาณ 116,167 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 229.76 ตัน




อาชีพหลักของประชากร

คือ การทำนา พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย และยางพารา


ผลิตภัณฑ์จังหวัด
มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดพะเยา ตามราคาตลาด พ.ศ. 2548 จากข้อมูลของ
สำนักงานคลังหวัดพะเยามูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด เป็นเงิน 18,884 ล้านบาท และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 37,315 บาทต่อปี นับเป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัว ลำดับที่ 15 ของภาค ลำดับที่ 57 ของประเทศ
สาขาที่มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดมากที่สุดคือ สาขาการเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์ 5,139 ล้านบาท
สาขาที่มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดรองลงมาคือ สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมแซม
ยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์ 3,656 ล้านบาท


การศึกษา
ในปีการศึกษา 2549 จังหวัดพะเยา
มีสถานศึกษา จำนวน 347 แห่ง
มีนักเรียน/นักศึกษา รวมจำนวน 124,474 คน แยกเป็น
ในระบบโรงเรียน 95,534 คน
นอกระบบโรงเรียน 28,940 คน


การสาธารณสุข
ในปี 2549 จังหวัดพะเยา
มีโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 8 แห่ง
มีโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
มีเตียงคนไข้ จำนวน 808 เตียง (เฉลี่ยเตียงคนไข้ 1 เตียงต่อประชากร 584 คน)
มีแพทย์ จำนวน 92 คน (เฉลี่ยแพทย์ 1 คนต่อประชากร 5,451 คน)
มีทันตแพทย์ จำนวน 21 คน (เฉลี่ยทันตแพทย์ 1 คนต่อประชากร 23,881 คน)
มีพยาบาล จำนวน 1,001 คน (เฉลี่ยพยาบาล 1 คนต่อประชากร 501 คน)
มีสถานีอนามัย จำนวน 94 แห่ง
มีคลินิคทุกประเภท จำนวน 60 แห่ง


การสารณูปโภค
ไฟฟ้า ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า 130,610 ราย
ประปา ในปี 2549 จังหวัดพะเยา
มีการประปาพะเยา-ดอกคำใต้ มีโรงกรองน้ำ จำนวน 2 แห่ง โดยใช้น้ำจากกว๊านพะเยา
ปัจจุบันให้บริการ น้ำสะอาดแก่ชุมชนเมืองพะเยา และ อ.ดอกคำใต้
มีการประปาจุน จำหน่ายน้ำ 3 เขต คือ อ.จุน อ.ปง อ.เชียงคำ
มีกำลังการผลิตน้ำประปาทั้งสองแห่งประมาณ 7,708,800 ลูกบาศก์เมตร
มีจำนวนผู้ใช้น้ำประปา ประมาณ 17,098 ราย


โทรศัพท์
ในปี 2549 จังหวัดพะเยา มีหายเลขโทรศัพท์ 37,215 หมายเลข
เป็นของบริษัท ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) จำนวน 22,079 หมายเลข (มีผู้เช่า จำนวน 29,882 หมายเลข)
เป็นของบริษัทสัมปทาน จำนวน 15,136 หมายเลข (มีผู้เช่า จำนวน 13,841 หมายเลข)



การคมนาคมขนส่ง
จังหวัดพะเยา ใช้เส้นทางคมานาคมทางบกเป็นหลัก โดยมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง กรุงเทพ ฯ และระหว่างอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

1. ระยะทางจากอำเภอเมืองพะเยา ถึง 2. ระยะทางจากจังหวัดพะเยา ถึง
- อ.ดอกคำใต้ 15 กม. - จังหวัดเชียงราย 94 กม.
- อ.จุน 48 กม. - จังหวัดเชียงใหม่ 134 กม.
- อ.เชียงคำ 76 กม. - จังหวัดลำปาง 137 กม.
- อ.เชียงม่วน 117 กม. - จังหวัดแพร่ 138 กม.
- อ.ปง 79 กม.
- อ.แม่ใจ 24 กม.
- อ.ภูซาง 91 กม.
- อ.ภูกามยาว 18 กม.

2.ทางด้านไปรษณีย์ จังหวัดพะเยา มีที่ทำการไปรษณีย์รวม 8 แห่ง (ที่อำเภอเมืองพะเยามี 2 แห่งคือ ที่ทำการไปรษณีย์พะเยา และที่ทำการไปรษณีย์หนองระบู



ศาสนา

ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 90 มีวัดจำนวน 13 แห่ง และยังมีประชาชนที่นับถือศาสนาอื่นๆ อีก เช่น อิสลาม คริสต์







แหล่งที่มา: http://www.phayao.go.th/detail.html

แหล่งที่มาศาสนา:https://goo.gl/Q6Fmk6

แผนที่จังหวัด




การเดินทางมาจังหวัดพะเยา
ระยะทางระหว่างจังหวัดพะเยากับจังหวัดใกล้เคียง
เชียงราย94กิโลเมตร
เชียงใหม่153กิโลเมตร
ลำปาง134กิโลเมตร
แพร่156กิโลเมตร
น่าน188กิโลเมตร
ระยะทางระหว่างตัวเมืองพะเยากับอำเภอต่าง ๆ
ดอกคำใต้15กิโลเมตร
แม่ใจ24กิโลเมตร
จุน48กิโลเมตร
เชียงคำ76กิโลเมตร
ปง79กิโลเมตร
ภูซาง85กิโลเมตร
เชียงม่วน117กิโลเมตตร
การเดินทางโดยรถยนต์
เส้นทางกรุงเทพ - พะเยา (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - ลำปาง - พะเยา)
          ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่นครสวรรค์ ผ่านอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตาก ผ่านอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง เข้าสู่จังหวัดพะเยา ประมาณ 730 กิโลเมตร

 เส้นทางกรุงเทพ - พะเยา (กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ - พิษณุโลก - อุตรดิตถ์ - แพร่ - พะเยา)
          ใข้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา ระยะทางประมาณ 690 กิโลเมตร

เส้นทางเชียงใหม่ - พะเยา (เชียงใหม่ - แม่ขะจาน - วังเหนือ - พะเยา)
          จากเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 118 ไปอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เลี้ยวขวาที่สามแยกแม่ขะจาน ตำบลแม่ขะจาน เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 120 ผ่านอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 เข้าสู่จังหวัดพะเยา ระยะทางประมาณ 155 กิโลเมตร

 เส้นทางเชียงใหม่ - พะเยา (เชียงใหม่ - แม่ขะจาน - แม่สรวย - เชียงราย - พะเยา)
          จากเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 118 ผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ไปอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เข้าสู่จังหวัดพะเยา ระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร

การเดินทางโดยรถไฟ
          จากสถานีรถไฟหัวลำโพงสามารถนั่งรถไฟสายเหนือลงที่ ลำปาง หรือ เชียงใหม่ จากนั้นเดินทางด้วยรถยนต์ หรือ รถโดยสารสาธารณะ ไปจังหวัดพะเยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0-2223-7010, 0-2223-7020 หรือ www.railway.co.th






การเดินทางโดยเครื่องบิน
          สามารถเดินทางโดยเครื่องบินมาที่ สนามบินนานาชาติเชียงราย หรือ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ หรือ สนามบินแพร่ จากนั้นเดินทางด้วยรถยนต์ หรือ รถโดยสารสาธารณะ ไปจังหวัดพะเยา สอบถามเที่ยวบินได้ที่
           บมจ.การบินไทย โทร. 1566, 0-2280-0060, 0-2628-2000, 0-2356-1111 หรือ www.thaiairways.com
           บจ.สายการบินนกแอร์ โทร. 1318, 0-2662-900-9955 หรือ www.nokair.com
           บจ.ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0-2515-9999 หรือ www.airasia.com
           บจ.การบินกรุงเทพ โทร. 1771, 0-2265-5555 หรือ www.bangkokair.com







การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ
          มีรถโดยสารปรับอากาศ ชั้น 1 ชั้น 2 และรถธรรมดา เดินทางขึ้น - ล่อง ทุกวัน สามารถเดินทางโดยรถทัวร์ที่มีต้นทาง/ปลายทางที่สถานีขนส่งจังหวัดพะเยา หรือ สถานีขนส่งจังหวัดเชียงรายที่ผ่านจังหวัดพะเยา ก็ได้
          เส้นทางกรุงเทพ - พะเยา มีรถโดยสารปรับอากาศ ชั้น 1 ชั้น 2 และรถธรรมดา ไป - กลับพะเยาทุกวัน สอบถามได้ที่
           บจ.ขนส่ง โทร. 0-2537-8055, 0-2936-2852-66, 0-5443-1363 (สาขาพะเยา) หรือ www.transport.co.th
           บจ.สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 0-2954-3601, 0-5443-1865 (สาขาพะเยา)
           บจ.สมบัติทัวร์ โทร. 0-2936-2495-8, 0-2570-9030, 0-5441-1127 (สาขาพะเยา) หรือ www.sombattour.com

          เส้นทางเชียงใหม่ - พะเยา มีรถโดยสารปรับอากาศ ชั้น 1 ชั้น 2 และรถธรรมดา ไป - กลับ ทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-17.30 น. สอบถามได้ที่ บจ.ไทยพัฒนกิจขนส่ง โทร. 1141 ต่อ 8000, 0-5324-2214-5, 0-5324-1933, 0-5448-1898 (สาขาพะเยา) หรือ www.greenbusthailand.com







แหล่งที่มารูปภาพ: http://www.novabizz.com/Map/4.htm
แหล่งที่มาข้อมูลการเดินทาง: http://www.phayao.go.th/pyodetail.php?p=transport

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด







รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ

พระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ พระพุทธรูปคู่เมือง อันเป็นหลักรวม
ใจของชาวพะเยา
 ลายกนกเปลว บนพื้นเบื้องหลังองค์พระพุทธรูป หมายถึง ความ
รุ่งเรืองของ 7 อำเภอ ได้แก่
 อำเภอเมือง ดอกคำใต้ แม่ใจ เชียงคำ เชียงม่วน ปง และจุน 
เบื้อง
ล่างริมของดวงตราเป็น 
 กว๊านพะเยา ซึ่งมีชื่อเสียง เป็นรู้จักกันดี และมี ช่อรวงข้าว ประกอบ
อยู่ทั้งสองข้าง ซึ่งหมายถึง ลักษณะของความเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ 

คำขวัญ

คำขวัญประจำจังหวัดพะเยา

"กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม "




แหล่งที่มารูปภาพ: https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%95%E0%B8

แหล่งที่มาความหมายสัญลักษณ์และ
คำควัญ: http://student.nu.ac.th/49370951/phayaoFoods.php